1. Home
  2. »
  3. ข่าวผู้บริหาร
  4. »
  5. อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ขยายผล นโยบายรัฐมนตรีเกษตรฯ …

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ขยายผล นโยบายรัฐมนตรีเกษตรฯ คัดสรรสินค้าเกษตรปลอดภัย มูลค่าสูง 76 จังหวัด 76 โมเดล ชู นวัตกรรม “ผลิตเมล็ดพันธุ์” ผักอินทรีย์โมเดล สู่เศรษฐี อีสานล่าง สร้างรายได้ กว่า 3.8 ล้านบาท/ไร่/ปี

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำ โครงการ 76 จังหวัด 76 โมเดล การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยมูลค่าสูง เพื่อเป็นการถอดบทเรียนแห่งความสำเร็จการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยมูลค่าสูงจากเกษตรกรต้นแบบ 76 จังหวัดทั่วประเทศ สอดรับกับหลักการ ประชาชนต้องอยู่ดีกินดี สินค้าเกษตรต้องมีความปลอดภัย มูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรต้องยั่งยืน ตามนโยบายของ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี 76 จังหวัด 76 โมเดล ในวันนี้ได้รับเกียรติจาก ว่าทีพันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ และนายเสนีย์ ส้มเขียวหวาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เข้าร่วมงานด้วย สำหรับการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยมูลค่าสูง เป็นโมเดลที่ชนะเลิศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่ทำการคัดเลือกจากเกษตรกร 9 จังหวัด โดยใช้แนวทางตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ โมเดลที่ชนะเลิศคือ “นวัตกรรมผักอินทรีย์โมเดลสู่เศรษฐีอีสานล่าง” ของคุณศุภชัย มิ่งขวัญ ไร่ภูตะวันออร์แกนิคฟาร์ม บ้านหนองเม็ก ตำบลคึมใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีมูลค่าการผลิตกว่า 3.8 ล้านบาท/ไร่/ปี

ไร่ภูมิตะวันออร์แกนิคฟาร์ม เป็นการจัดการโดยใช้หลักการ “ตลาดนำการผลิต” โดยทำการเกษตรแบบรวมกลุ่มแบบเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อให้มีอำนาจต่อรอง และที่สำคัญได้ให้สมาขิกในกลุ่ม ได้ปรับเปลี่ยนวิธีคิด จากการผลิตแบบพอเพียงมาทำการผลิตเชิงพาณิชย์ จากอาชีพรองมาเป็นอาชีพหลัก เข้าถึง และยอมรับนวัตกรรมสมัยใหม่ โดยเริ่มต้นทำการปลูกผักอินทรีย์ในโรงเรือน ซึ่งจะสามารถผลิตผักอินทรีย์ที่มีความปลอดภัย ส่งตลาดได้ตลอดทั้งปี ผลผลิตมีคุณภาพ สวยงาม แตกต่างจากแหล่งผลิตอื่น โดยทำการรวมกลุ่ม เพื่อรวมคน รวมพื้นที่ และรวมสินค้าเกษตรอินทรีย์ จากกลุ่มแปลงใหญ่ผลิตผักอินทรีย์ปลอดภัย บ้านหนองเม็ก มีสมาชิกจำนวน 34 ครัวเรือน สมาชิกเครือข่ายอีกจำนวน 105 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 7 อำเภอของจังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อผลิตผักอินทรีย์ จำนวน 400 ไร่ ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ระดับสากล คือ Organic Thailand และ IFOAM โดยเน้นปลูกพืชผักอินทรีย์ในโรงเรือนระบบปิด ข้างบนเป็นหลังคาพลาสติก ด้านข้างเป็นมุ้งกันแมลง โรงเรือนขนาด ความกว้าง 6 เมตร ความยาว 30 เมตร จำนวน 6 โรงเรือน/ไร่ มีการจัดทำปฏิทินการผลิตพืชของกลุ่ม ทำการปลูกพืชตระกูลสลัดเช่น กรีนโอ้ค เรดโอ้ค คอส ฟินเลย์ รวมทั้งผักสดอินทรีย์ที่ได้รับความนิยมจากท้องตลาด เช่น ผักปวยเล้ง คะน้า กวางตุ้ง ฯลฯ โดยทางกลุ่มจะเน้นปลูกพืชผักสลับหมุนเวียนกันไปตามคำสั่งซื้อของลูกค้าเป็นหลัก การปลูกในโรงเรือนจะสามารถทำการผลิตได้ 6 รอบ/โรงเรือน/ปี ผักสลัดจะใช้เวลาปลูกดูแลประมาณ 45 วัน ก่อนปลูกจะต้องเพาะเมล็ดพันธุ์สลัดในเนิร์สเซอรี่ก่อน เมื่อต้นกล้าเติบโตตามที่ต้องการจึงค่อยย้ายมาปลูกในโรงเรือนอีก 30 วัน เมื่อต้นผักสลัดเติบโตเป็นสัปดาห์ที่ 5 จึงเริ่มตัดผลผลิตออกขายได้ ในสัปดาห์ที่ 6 จะเริ่มพักแปลง ประมาณ 7 วัน ก่อนลงทุนปลูกผักรอบใหม่ ระหว่างที่เตรียมแปลงปลูกรอบใหม่ สมาชิกจะเพาะกล้าพันธุ์ผักสลัดไปพร้อมๆ กัน

สำหรับแปลงเก็บเมล็ดพันธุ์ จะปลูกเฉพาะช่วงฤดูหนาว (ต.ค.-ก.พ.) 1 รอบ/โรงเรือน/ปี โดยจะทำการคัดเลือกพันธุ์ที่ต้องการจากต้นกล้าที่เพาะชำ ซึ่งภายใน 1 โรงเรือนจะทำการปลูกผักสลัดเพียงชนิดเดียวเท่านั้น หลังจากปลูกผักในแปลงประมาณ 90-100 วัน จะเริ่มเก็บเกี่ยวทั้งต้น โดยพิจารณาจากดอกที่มีลักษณะเป็นปุยนุ่นในช่อดอกประมาณ 80% ของจำนวนดอกในต้น ใช้กรรไกรตัดบริเวณโคนต้นอย่างระมัดระวัง ป้องกันเมล็ดหลุดร่วง นำเมล็ดแก่ที่ได้ ใส่ภาชนะตากแดดเพื่อลดความชื้น จากนั้นนำมาฝัดทำความสะอาด และเข้าเครื่องแยกเมล็ดอีกครั้งจากนั้นบรรจุใส่ภาชนะเก็บเข้าห้องเย็นทันที จะได้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 90-92 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสามารถขายเมล็ดพันธุ์ได้สูงถึง 30,000 บาท/กิโลกรัม

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมายกองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช และ กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เข้ามาบริการแบบเบ็ดเสร็จด้านธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ได้แก่ พัฒนาเข้าสู่ระบบเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ อาทิ การขึ้นทะเบียนเมล็ดพันธุ์ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 การรับรองสายพันธุ์ รับรองแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มูลค่าสูง การยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ด้วยการเคลือบ และพอกเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเป็นการช่วยในปรับปรุงคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์

นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรยังได้เข้ามาสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการศัตรูพืช โดยการใช้ชีวภัณฑ์ต่างๆ อาทิ

– ชีวภัณฑ์ Bacillus thuringiensis (BT) ในการจัดการหนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนใยผัก –

– ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย ในการจัดการด้วงหมัดผัก

– ชีวภัณฑ์บิวเวอร์เรีย หรือเมตาไรเซียมเชี้อสด ในการจัดการเพลี้ยอ่อน

– เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีในการรองก้นหลุมป้องกันโรครากปม

– ชีวภัณฑืไตรโคเดอร์มา จัดการโรครากเน่าโคนเน่า

ทำให้เกษตรกรมีความเชี่ยวชาญ มีองค์ความรู้ จนสามารถขยายผลสู่ชุมชนใกล้เคียง ครอบลุมพื้นที่ทั้ง 7 อำเภอของจังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 105 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกผักอินทรีย์ จำนวน 400 ไร่ มีโรงเรือนปลูกผักทั้งหมด จำนวน 305 โรงเรือน ผลผลิตผักอินทรีย์ออกสู่ตลาดเฉลี่ย 25 – 30 ตันต่อเดือน

สำหรับกิจกรรมภายในงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี 76 จังหวัด 76 โมเดล ประกอบด้วย แปลงสาธิต นิทรรศการแปลงต้นแบบระดับเขต และระดับจังหวัด จำนวน 9 ต้นแบบ กิจกรรมการเสวนาระหว่างผู้ผลิตและตลาดรับซื้อ เรื่อง “ไขความลับการผลิตพืชมูลค่าสูงสู่เศรษฐีอีสานล่าง” ฐานการเรียนรู้ โมเดลการผลิตผักอินทรีย์มูลค่าสูง จำนวน 4 ฐาน หน่วยบริการคลินิกพืชเคลื่อนที่ นิทรรศการกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ การผลิตและการใช้ชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพในการผลิตพืช การผลิตพืชตามมาตรฐาน Organic Thailand/GAP การให้ความรู้ด้าน พรบ. ที่เกี่ยวข้องกับกรมวิชาการเกษตร และการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสม การรู้จักดินรู้จักปุ๋ย กิจกรรม ชิม ช้อป ชม ผลิตภัณฑ์การเกษตร จากเกษตรกรต้นแบบและกลุ่ม young smart farmer และกิจกรรมแจกจ่ายพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิตให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ เกษตรกร ประชาชน ข้าราชการ พนักงาน บุคลากรภาครัฐและนักเรียน นักศึกษา จำนวน 300 ราย

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า กรมวิชาการเกษตรมีความมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินโครงการ 76 จังหวัด 76 โมเดล ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอก ธรรมมนัส พรหมเผ่า ในการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร 3 เท่าภายใน 4 ปี โมเดล “นวัตกรรมผักอินทรีย์โมเดลสู่เศรษฐีอีสานล่าง” จะเป็นโมเดลสำหรับการผลิตผักปลอดภัยมูลค่าสูง ซึ่งที่ผ่านมา กรมวิขาการเกษตรได้มีความร่วมมือกับ กระทรวงสาธารณสุข กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิชีววิถี (Bio Thai) มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนประเทศไทย เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai PAN) และตลาดไท ในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยจากสารเคมีเพื่อความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โมเดลการเกษตรในวันนี้ จะเห็นผลในเชิงประจักษ์ ให้เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรสร้างอาชีพ และรายได้จากการทำเกษตรปลอดภัยมูลค่าสูง และต่อยอดการผลิตผักปลอดภัยเพื่อบริโภคสู่การเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ เพื่อสร้างรายได้สูง และความมั่นคงยั่งยืนของเกษตรกรต่อไป

  • ชีวภัณฑ์ Bacillus thuringiensis (BT) ในการจัดการหนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนใยผัก –
  • ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย ในการจัดการด้วงหมัดผัก
  • ชีวภัณฑ์บิวเวอร์เรีย หรือเมตาไรเซียมเชี้อสด ในการจัดการเพลี้ยอ่อน
  • เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีในการรองก้นหลุมป้องกันโรครากปม
  • ชีวภัณฑืไตรโคเดอร์มา จัดการโรครากเน่าโคนเน่า
    ​ทำให้เกษตรกรมีความเชี่ยวชาญ มีองค์ความรู้ จนสามารถขยายผลสู่ชุมชนใกล้เคียง ครอบลุมพื้นที่ทั้ง 7 อำเภอของจังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 105 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกผักอินทรีย์ จำนวน 400 ไร่ มีโรงเรือนปลูกผักทั้งหมด จำนวน 305 โรงเรือน ผลผลิตผักอินทรีย์ออกสู่ตลาดเฉลี่ย 25 – 30 ตันต่อเดือน
    สำหรับกิจกรรมภายในงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี 76 จังหวัด 76 โมเดล ประกอบด้วย แปลงสาธิต นิทรรศการแปลงต้นแบบระดับเขต และระดับจังหวัด จำนวน 9 ต้นแบบ กิจกรรมการเสวนาระหว่างผู้ผลิตและตลาดรับซื้อ เรื่อง “ไขความลับการผลิตพืชมูลค่าสูงสู่เศรษฐีอีสานล่าง” ฐานการเรียนรู้ โมเดลการผลิตผักอินทรีย์มูลค่าสูง จำนวน 4 ฐาน หน่วยบริการคลินิกพืชเคลื่อนที่ นิทรรศการกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ การผลิตและการใช้ชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพในการผลิตพืช การผลิตพืชตามมาตรฐาน Organic Thailand/GAP การให้ความรู้ด้าน พรบ. ที่เกี่ยวข้องกับกรมวิชาการเกษตร และการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสม การรู้จักดินรู้จักปุ๋ย กิจกรรม ชิม ช้อป ชม ผลิตภัณฑ์การเกษตร จากเกษตรกรต้นแบบและกลุ่ม young smart farmer และกิจกรรมแจกจ่ายพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิตให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ เกษตรกร ประชาชน ข้าราชการ พนักงาน บุคลากรภาครัฐและนักเรียน นักศึกษา จำนวน 300 ราย
    อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า กรมวิชาการเกษตรมีความมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินโครงการ 76 จังหวัด 76 โมเดล ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอก ธรรมมนัส พรหมเผ่า ในการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร 3 เท่าภายใน 4 ปี โมเดล “นวัตกรรมผักอินทรีย์โมเดลสู่เศรษฐีอีสานล่าง” จะเป็นโมเดลสำหรับการผลิตผักปลอดภัยมูลค่าสูง ซึ่งที่ผ่านมา กรมวิขาการเกษตรได้มีความร่วมมือกับ กระทรวงสาธารณสุข กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิชีววิถี (Bio Thai) มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนประเทศไทย เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai PAN) และตลาดไท ในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยจากสารเคมีเพื่อความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โมเดลการเกษตรในวันนี้ จะเห็นผลในเชิงประจักษ์ ให้เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรสร้างอาชีพ และรายได้จากการทำเกษตรปลอดภัยมูลค่าสูง และต่อยอดการผลิตผักปลอดภัยเพื่อบริโภคสู่การเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ เพื่อสร้างรายได้สูง และความมั่นคงยั่งยืนของเกษตรกรต่อไป
Related
แชท
Skip to content